top of page
Safeguardkids_Brand-Update_page-0012.jpg

Grooming และ Pedophilia ต่างกันยังไง?

อัปเดตเมื่อ 3 เม.ย.

หลายคนคงสงสัยว่า Grooming และ Pedo แตกต่างกันอย่างไร เเล้วผิดกฎหมายไหม หรือต้องเข้ารับการรักษาทางเเพทย์หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบค่ะ

Infographic เปรียบเทียบ Grooming และ Pedo
Infographic เปรียบเทียบ Grooming และ Pedo

(ข้อมูลเปรียบเทียบแบบตารางอยู่ด้านล่าง)

หนึ่งในอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงคือ อาชญากรรมทางเพศต่อเด็กในโลกออนไลน์ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรง ตามสถิติอาชญากรรมระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 พบว่ามี 346 กรณี โดยเหยื่อส่วนใหญ่เป็นเด็กผู้หญิงอายุ 8-14 ปี จำนวน 118 คน รองลงมาคือเด็กผู้หญิงอายุ 15-17 ปี จำนวน 74 คน และเด็กผู้ชายอายุ 8-14 ปี จำนวน 7 คน

 

นอกจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ เด็กที่ตกเป็นเหยื่อยังต้องเผชิญกับ การถูกกล่าวโทษจากสังคม (Victim-blaming) ซึ่งส่งผลต่อชื่อเสียงและสภาพจิตใจของพวกเขา นอกจากนี้ อาชญากรที่ล่อลวงเด็กยังใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การปลอมแปลงตัวตนของเด็กให้ดูเป็นบุคคลมีชื่อเสียงบนโซเชียลมีเดีย หรือ หลอกให้โอนเงินเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ โดยอ้างว่าจะส่งของให้ ซึ่งเป็นภัยร้ายที่เพิ่มมากขึ้นในยุคดิจิทัล 

 

Grooming และ Pedophilia เป็นสองคำสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอาชญากรรมทางเพศต่อเด็ก การทำความเข้าใจความแตกต่างของทั้งสองคำนี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมของพฤติกรรมล่อลวงและแรงจูงใจของผู้กระทำผิด

- Grooming เป็นกระบวนการที่อาชญากรใช้ เพื่อสร้างความไว้วางใจและควบคุมเด็ก ก่อนที่จะล่วงละเมิดพวกเขาทางเพศ

- ขณะที่ Pedophilia เป็นแนวโน้มทางจิตที่เกี่ยวข้องกับ ความสนใจทางเพศที่มีต่อเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ 

ถึงแม้ว่า “ผู้ที่มีพฤติกรรม Grooming อาจไม่ได้เป็น Pedophile ทุกคน และ Pedophile ทุกคนอาจไม่ได้ก่ออาชญากรรม” แต่เมื่อทั้งสองสิ่งนี้มาบรรจบกัน โอกาสที่เด็กจะถูกล่วงละเมิดทางเพศก็จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

 

บทความนี้มีเป้าหมายเพื่อ เปรียบเทียบ Grooming และ Pedophilia เพื่อทำให้เข้าใจถึงความแตกต่างทางพฤติกรรม แรงจูงใจ และผลกระทบของทั้งสองแนวคิดต่อสังคม ด้วยเหตุนี้ การแยกแยะพฤติกรรมทั้งสองและเข้าใจแรงจูงใจเบื้องหลังจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อ การพัฒนาแนวทางป้องกันอาชญากรรมทางเพศต่อเด็ก และ การบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

 

Grooming (การล่อลวงเด็กเพื่อการล่วงละเมิดทางเพศ)

คำนิยาม

การกรูมมิ่งเป็นกระบวนการที่ผู้ใหญ่เกลี่ยกล่อมหรือล่อลวงเด็กจนเด็กเต็มใจคบเป็นแฟนหรือยอมมีปฏิสัมพันธ์ทางเพศ โดยเริ่มจากผู้ใหญ่ค่อยๆ สร้างความไว้วางใจและลดความระแวงของเด็กลง ทำให้เด็กรู้สึกสบายใจและยอมรับพฤติกรรมทางเพศของผู้ใหญ่ อาจจะมีกลลวงที่หลากหลายเพื่อให้เด็กคล้อยตามและโดยลืมศีลธรรมหรือมุมมองจากสังคมที่ป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ

เปโดอาจเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดการล่อลวงเด็ก

สาเหตุ

แม้ว่าจะไม่มีการระบุสาเหตุเฉพาะของพฤติกรรมล่อลวงเด็ก แต่มีปัจจัยที่ทำให้เด็กตกเป็นเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น

ทำไมเด็กตกเป็นเหยื่อ

ทำไมผู้ใหญ่ถึงทำเช่นนี้

ความไม่รู้

- ยังมีความรู้จำกัดเชื่อง่าย และไว้วางใจผู้อื่นง่าย

- ไม่รู้ว่าสิ่งที่อีกง่ายทำมันผิดธรรมชาติ

- เด็กมีแนวโน้มที่จะต่อต้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้น้อยกว่าผู้ใหญ่

-  ความรู้สึกขาดแคลนความรักจากคนในวัยเดียวกัน

-  ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมที่ชายเป็นใหญ่ รู้สึกไม่มีอำนาจ

ช่องโหว่จากความอบอุ่น

-   ความสัมพันธ์ที่ไม่แน่นแฟ้นกับพ่อแม่

-   การขาดการดูแลจากผู้ใหญ่

-   ความรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการหรือไม่ได้รับความรัก

-   ความเหงาและการถูกแยกจากสังคม

บางกรณี ผู้กระทำอาจเคยถูกกระทำรุนแรงในวัยเด็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านจิตใจและพฤติกรรมทางเพศ

เสียงเล็กมักเบาเสมอเด็กมักไม่กล้าที่จะเปิดเผยการล่อลวงหรือการล่วงละเมิดเพราะ

-   ความกลัว

-   ความอับอาย

-   การเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นฝ่ายผิด

ภาวะสุขภาพจิตอ่อนแอ

ความเครียดสูง

ความมั่นใจในตนเองต่ำ

 

ลักษณะพฤติกรรมและขั้นตอนการล่อล่วงเด็กมีดังนี้:

1.     การเลือกเหยื่อ: ระบุและมุ่งเป้าไปที่เด็กที่อ่อนแอ

-      เด็กที่เชื่อใจผู้อื่นง่าย

-      เด็กที่มีความมั่นใจในตนเองต่ำ

-      เด็กที่ถูกแยกออกจากสังคมหรือขาดการสนับสนุนทางอารมณ์

2.     การสร้างโอกาสและการแยกเด็กออกจากผู้อื่น: หาทางอยู่กับเด็กตามลำพัง เช่น ใช้การโน้มน้าวสมาชิกในครอบครัวของเด็ก ทำลายความสัมพันธ์ของเด็กกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง  ทำให้เด็กเชื่อว่าผู้กระทำผิดคือคนที่เข้าใจและดูแลพวกเขามากที่สุด

3.     การสร้างความไว้วางใจ: แสดงออกถึงความอ่อนโยน เอาใจใส่  ให้ความสนใจและคำชม ทำกิจกรรมร่วมกัน หรือให้รางวัลและสิทธิพิเศษ

4.     สร้างความผูกพัน: เริ่มจากการสัมผัสที่ดูเหมือนไม่มีพิษภัย ใช้ภาษาหรือมุขตลกลามก  เพื่อให้เด็กไม่ต่อต้าน เปิดเผยร่างกายของตนเอง ถามเกี่ยวกับประสบการณ์ทางเพศของเด็ก และแสดงสื่อลามก อาจใช้ ของขวัญ การให้ความรัก หรือการให้รางวัล เป็นเครื่องมือ มีความลับระหว่างกันสองคน หรือเริ่มคบกัน 

5.     การควบคุม: ทำให้เด็กคิดว่า "ความสัมพันธ์นี้พิเศษ" เป็นเรื่องปกติ ไม่ผิดศีธรรม หรือลืมมุมมองจากสังคม และใช้คำขู่ ทำให้เด็กกลัวผลที่ตามมาหากเปิดเผยเรื่องราว

 

ความผิดทางกฎหมาย:

พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องมักนำไปสู่การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก ซึ่งเป็นอาชญากรรมร้ายแรง การตระหนักและแทรกแซงในกระบวนการล่อลวงเด็กมีความสำคัญต่อการป้องกัน

 

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับ

การล่อลวงเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ (Grooming) โดยพึ่งผ่านร่างกฎหมาย (ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568)  โดยระบุในร่างมาตรา 6 ว่า

ผู้ใดกระทำการอันมีลักษณะเป็นการโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอันไม่สมควรอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อสนองความใคร่ของตนเองหรือผู้อื่น หรือเพื่อการอนาจาร

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เป็นความผิดในขั้นที่ยังไม่เกิดผล)

เเละหากกระทำโน้มน้าวหรือมีการกระทำล่อลวงลำเร็จเเล้ว

ต้องระวางโทษหนักขึ้น (จำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท) จาก สามปีเเละปรับหมื่นบาท

และยิ่งหากอายุเด็กต่ำกว่าสิบห้าปี โทษจะหนักขึ้นเป็น 

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

เเละหากทำผ่าน อุปกรณ์โทรคมนาคม หรือระบบคอมพิวเตอร์ ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิด เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสามของโทษที่กฎกำหนด

และในร่างมาตรา 7 ระบุว่า หากผู้ถูกกระทำได้

1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกสิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

*ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง

 

บทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางเพศ

ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในกฎหมายไทย ได้แก่:


  • การครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก 

     มาตรา 280/1

    • ถ้าทำตามมาตรา 276 มาตรา 277(กระทำชำเราเด็ก) มาตรา 278(ขู่อนาจารเด็ก) หรือมาตรา 279(อนาจารเด็ก) แล้วบันทึกภาพหรือเสียงการกระทำชำเราหรือการกระทำอนาจารนั้นไว้ เพื่อแสวงหาประโยชน์

      โทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ หนึ่งในสาม

    มาตรา 287/1

    • ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก

      โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ      

      ตามวรรคหนึ่งส่งต่อแก่ผู้อื่น

      โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 287/2 (สำหรับสื่อลามกเด็ก)

  •  (1) เพื่อการค้า ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า  ส่งออก พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลาย  สื่อลามกอนาจารเด็ก

ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก              

  • (2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามก

  • (3) ช่วย โฆษณา

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 - 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 - 200,000 บาท

สามารถอ่านเพิ่มเติมในมาตรา 287 (ครอบครองสื่อลามก) ได้ที่ อ่านเพิ่มเติม


  • การกระทำอนาจารเด็ก

มาตรา 278

  • (1)กระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี 

    ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • (2)ตามวรรคหนึ่งโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศ

    จำคุกตั้งแต่ 4 - 20 ปี และปรับ 80,000 - 400,000 บาท

  • ตามวรรคสอง ทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด

    จำคุกตั้งแต่ 7 -20 ปี และปรับ 100,000 - 400,000 บาท

  • ตามวรรคสองมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือโดยใช้อาวุธจริงๆร่วมกระทำลักษณะโทรม

    ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ยังมีในมาตรา 279 (สำหรับเด็กอายุยังไม่เกิน15ปี) และ มาตรา 280 (ทำให้บาดเจ็บสาหัสและถึงแก่มรณะ) สามารถอ่านต่อที่ อ่านเพิ่มเติม  


  •  การกระทำชำเราเด็ก

มาตรา 277

  • กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม 

    จำคุกตั้งแต่ 15 - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท

  • เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี

    จำคุก 7- 20 ปี และปรับ 140,000-400,000 บาท หรือ จำคุกตลอดชีวิต

  • ตามวรรค 1 หรือ 2 ทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด

    จำคุกตั้งแต่ 10 - 20 ปี และปรับ 200,000 - 400,000 บาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

  • ตามวรรค 1 หรือ 2 กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด

    จำคุกตลอดชีวิต

  • ยังมีมาตรา 277 ทวิ และ มาตรา 277 ตรี (ทำให้เจ็บสาหัสหรือถึงแก่มรณะ) สามารถอ่านต่อที่ อ่านเพิ่มเติม

 

การรักษา

เน้นเข้ารับการรักษาด้วยศีลธรรมเเละจริยธรรม แม้จะไม่มีแนวทางการรักษาที่กำหนดไว้สำหรับพฤติกรรมล่อลวงเด็กโดยเฉพาะ รวมถึงการประชาสัมพันธ์สร้างความตระหนักรู้จากสำนักงานเเละมูลนิธิต่าง ๆ 

 

Pedophilia (โรคใคร่เด็ก)

คำนิยาม

โรคใคร่เด็กคือสภาวะที่ผู้ใหญ่มีความสนใจทางเพศต่อเด็กที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เป็นระยะเวลานาน 

 ยังมีการจำแนกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:

  • Hebephilia: ความดึงดูดทางเพศต่อเด็กอายุ 11-14 ปี ที่เริ่มแสดงสัญญาณของพัฒนาการทางเพศบางอย่าง แต่ยังไม่โตเต็มที่

  • Ephebophilia: ความดึงดูดทางเพศต่อวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี

หรือโรคใคร่เด็กอาจเรียกอีกอย่างนึงได้ว่าเป็น “ผู้ถูกดึงดูดโดยผู้เยาว์” (MAP) หรือ เป็นคนที่มี "ภาวะใคร่เด็ก" (Pedophilia) ซึ่งเป็นคำที่บางฝ่ายมองว่าไม่จำเป็นต้องสื่อถึงพฤติกรรมผิดกฎหมาย


ชอบเด็กเเต่อาจไม่ได้ทำอาชญากรรม

 

สาเหตุ

สาเหตุของคนใคร่เด็กมีความเเตกต่างกันของประเภทที่เกิดจากการพัฒนามาเองกับประเภทเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้:

1.      ภาวะรักเด็กแบบพัฒนาการ (Developmental pedophilia)

ภาวะรักเด็กแบบปฐมเหตุหรือพัฒนาการ (idiopathic หรือ developmental ) ถือเป็นภาวะทางจิตเวชประเภทหนึ่งในกลุ่มความผิดปกติทางความชอบทางเพศ (paraphilias) ใน DSM-5

ซึ่งยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดและไม่มีเหตุการณ์ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ซึ่ง DSM-5 แยกความแตกต่างระหว่าง "ภาวะใคร่เด็ก" (Pedophilia) และ "โรคใคร่เด็ก" (Pedophilic Disorder) ซึ่งหมายความว่า

"ภาวะใคร่เด็ก" (Pedophilia)ที่มีแรงดึงดูดทางเพศต่อเด็กหรือ"บุคคลที่ถูกดึงดูดทางเพศต่อผู้เยาว์" (Minor-Attracted Person หรือ MAP) เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นโรคทางจิต ในขณะที่ "โรคใคร่เด็ก" (Pedophilic Disorder)  ต้องมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศเด็ก หรือมีความทุกข์ทรมานอย่างมีนัยสำคัญจากแรงดึงดูดนั้น เช่น ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตด้านสังคม การงาน การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคใคร่เด็ก


2.     ภาวะรักเด็กแบบเกิดขึ้นภายหลัง  (Acquired pedophilia) งานวิจัย "Acquired Pedophilia: International Delphi-Method-Based Consensus Guidelines" อธิบายว่า

ภาวะรักเด็กแบบเกิดขึ้นภายหลัง(acquired) ในบุคคลที่ไม่เคยมีความสนใจหรือความต้องการทางเพศต่อเด็กมาก่อน เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่สามารถตรวจพบได้ ซึ่งทำให้แรงดึงดูดเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีการใช้ยาเพื่อควบคุมพฤติกรรมทางเพศในกลุ่มผู้กระทำผิดทางเพศ 

เช่น งานวิจัยบางส่วนเสนอว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจตอบสนองต่อ การรักษาทางเภสัชวิทยา (Pharmaceutical Treatment) โดยเฉพาะ การใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (Chemical Castration หรือ Anti-Androgen Therapy) เพื่อช่วยลดแรงขับทางเพศและลดโอกาสในการกระทำผิด หรือผู้ป่วยมีภาวะสมองส่วนหน้าและขมับเสื่อม (frontotemporal dementia) การบาดเจ็บที่ศีรษะ ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เนื้องอกในสมองหรือไขสันหลัง

โรคฮันติงตัน ภาวะสมองส่วนฮิปโปแคมปัสแข็งตัว (hippocampal sclerosis) ภาวะสมองส่วนหน้าและขมับเสื่อมชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)  และความไม่สมดุลทางชีวเคมี เช่น ที่เกี่ยวข้องกับยากลุ่มโดปามีนที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันซึ่งไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตเวชหลัก  นอกเหนือจากการอธิบายสาเหตุเเล้ว การแบ่งประเภทของคนใคร่เด็กมีผลต่อการพิจารณาความผิดทางกฎหมายเเละการรักษาทางการเเพทย์ เช่นกัน


ลักษณะ

ภาวะคนใคร่เด็กเป็นความชอบทางเพศ ไม่จำเป็นต้องเป็นพฤติกรรมเสมอไป สามารถมีความสนใจทางเพศต่อเด็กโดยไม่เคยกระทำการใด ๆ ตามความสนใจนั้น ดังนั้นอาจจะไม่มีลักษณะการล่อล่วงที่ชัดเจนคล้ายกับกรูมมิ่ง แต่มีวิธีการสังเกตพฤติกรรมของคนใคร่เด็ก

ลักษณะพฤติกรรมของผู้มีภาวะเปโดและประเภทของคนใคร่เด็ก ดังนี้ :

  • ในระยะแรกอาจไม่ยอมรับ รู้สึกวิตกกังวล และรู้สึกผิดเมื่อมีอาการใคร่เด็ก

  • ชอบคลุกคลีกับเด็กมากกว่าเข้าสังคมกับคนวัยเดียวกัน โดยอาจเข้าหาเด็กด้วยการพาไปเล่นและซื้อของให้เพื่อให้เด็กไว้ใจ

  • ชอบดูและมีอารมณ์ทางเพศเมื่อดูสื่อลามกอนาจารเด็ก

  • มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยอาจใช้สายตา คำพูดแทะโลม สัมผัสร่างกาย เช่น หน้าอกและอวัยวะเพศ ไปจนถึงการข่มขืนกระทำชำเรา 

  • มีปัญหาความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ ไม่มีความสุขขณะมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองในวัยเดียวกัน

 

ความผิดทางกฎหมายของเปโด ความผิดทางกฎหมายอาจต้องถูกพิจารณาจากความพฤติกรรมการล่อล่วงเด็กเเละพิจารณาโทษจากประเภทของคนใคร่เด็กเพราะมีอาการทางจิตเวชเกี่ยวข้องด้วย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดโทษและลงโทษโดยคำนึงถึงความผิดปกติทางจิต "โรคใคร่เด็ก" และอาจไม่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช  ผู้ทำความผิดจึงมีความผิดและรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา แบ่งออกตามรูปแบบของการกระทำความผิดทางเพศกับเด็กตั้งแต่ไม่สัมผัสร่างกายไปจนถึงกระทำชำเราเด็ก

        1. ไม่มีการสัมผัสร่างกาย เช่น เปลือยกายให้เด็กดูอวัยวะเพศ แอบดูเด็กอาบน้ำ พูดจาลวนลาม ให้เด็กดูภาพ-คลิปลามกเพื่อเร่งเร้าหรือกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ

        2. สัมผัสร่างกายแต่ไม่ได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ เช่น กอด จูบ ลูบคลำอวัยวะเพศเด็กด้วยมือหรือปากให้เด็กจับอวัยวะเพศเพื่อสำเร็จความใคร่

        3. ล่วงละเมิดทางเพศ กระทำชำเราแล้วจะบังคับ ข่มขู่เด็ก ให้เก็บเป็นความลับและกระทำชำเราซ้ำๆ หรือทำร้ายร่างกายหรือฆ่า

 ซึ่งเข้าข่ายกฎหมายอาญาทางเพศเกี่ยวกับเด็ก

บทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางเพศของเปโด บทลงโทษหากผู้เป็นโรคใคร่เด็กได้กระทำผิดตามกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับเด็กจะคล้ายกับความผิดการล่อลวงเด็ก (Grooming) เช่นพฤติกรรม

  • ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก

  • กระทำอนาจารเด็ก

  • กระทำชำเราเด็กซึ่งจะได้รับบทลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดโดยไม่คำนึกถึงอาการทางจิตเวช

อย่างไรก็ตาม ความผิดสามารถบรรเทาโทษได้

หากมีเหตุ ดังต่อไปนี้

        1. โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์สาหัส

        2. มีคุณความดีมาก่อน

        3. รู้สึกผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายในความผิด

        4. ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา

        5. สารภาพความผิดต่อเจ้าพนักงาน

แต่หากเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยโรคใคร่เด็กประเภทเกิดขึ้นภายหลัง (Acquired pedophilia) มีอาการจิตบกพร่อง เป็นผู้ป่วยจิตเวช หรือจิตฟั่นเฟือนจะยกเว้นโทษ/ ลดโทษ กรณีกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบชั่วดีหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ แต่หากพิสูจน์แล้วว่าผู้กระทำผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง : อาจรับโทษน้อยลง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลจะมีบทความลงโทษ

 

แนวทางการรักษา  แนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะใคร่เด็ก:

  • การรักษาภาวะใคร่เด็กแบบปฐมเหตุ

    • มักไม่ตอบสนองต่อการบำบัดทางจิตใจได้ดี

    • การรักษาทางชีวเคมี เช่น การใช้ยาควบคุมฮอร์โมน อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

    • บางประเทศมีคลินิกเฉพาะทางเพื่อให้การบำบัดพฤติกรรม

  • การรักษาภาวะใคร่เด็กแบบเกิดขึ้นภายหลัง

    • สามารถรักษาได้โดยการแก้ไขสาเหตุทางระบบประสาท

    • การบำบัดฟื้นฟูสมองและการตระหนักรู้เกี่ยวกับศีลธรรมและกฎหมาย

แนวทางป้องกันและการดำเนินการหลังจากเกิดเหตุ

1.          สำหรับเหยื่อ:

o   หนูไม่ใช่ผู้ผิด

o   ห้ามไปในสถานที่ที่ลับตาคนหรืออยู่ในสถานที่ใดที่เป็นห้องปิดกับผู้ใหญ่ หรือใครแบบสองต่อสอง เช่น ในห้องน้ำ ห้องนอน ตรอก ซอก ซอย เป็นต้น

o   ไม่กินอาหารหรือดื่มน้ำที่ได้จากคนแปลกหน้า

o   รู้ขอบเขตที่เหมาะสม ใครสามารถเข้าใกล้และสัมผัสอวัยวะแต่ละส่วนได้บ้าง โดยเฉพาะส่วนสงวนอันได้แก่ ริมฝีปาก, หน้าอก, อวัยวะเพศหรือบริเวณหว่างขา และก้น เพราะเป็นจุดที่ละเอียดอ่อน ไวต่อการสัมผัส ถ้าคนอื่นมาโดน มาจับ เขาอาจรู้สึกอยากทำอะไรมากกว่าแค่จับ ลูบ หรือแตะต้อง และเขาอาจทำร้ายหนู

o   จดจำเบอร์โทรศัพท์และชื่อจริงของพ่อแม่เสมอ

o   เปิดเผยเรื่องราวต่อผู้ใหญ่ที่เชื่อถือได้ ให้บอกพ่อแม่ หรือถ้าพ่อแม่จับก็ให้มาบอกคุณครู

2.          สำหรับบุคคลใกล้ตัวผู้กระทำผิด:

o   เฝ้าระวังพฤติกรรมที่น่าสงสัย เช่น ให้ความสนใจเด็กมากเกินไป

o   ห้ามทิ้งลูกไว้กับผู้ใหญ่ในบ้านตามลำพัง

o   สอนเด็กว่าถ้าเผชิญสถานการณ์ที่มีคนจะมาทำร้ายเราให้ตะโกนหรือกรี๊ดดัง ๆ ให้คนมาช่วย และวิ่งหนีให้เร็วที่สุด วิ่งไปยังที่มีคนอยู่มาก ๆ หรือถ้าต้องซ่อนก็ต้องตั้งสติซ่อนตัวให้เงียบที่สุด

o   สอนเด็กให้สามารถระบุภัยทางเพศได้ โดยให้เขารู้จักความรู้สึกที่ดี และความรู้สึกที่ไม่ดี ควบคู่ไปกับการรู้จักอวัยวะในร่างกายของตนเอง รู้ว่าจับตรงไหนปลอดภัย ตรงไหนอันตราย

o   พ่อและแม่ควรต้องรู้วิธีการแสดงความรักต่อลูกว่าแค่ไหนทำได้ ไม่ละเมิดสิทธิในร่างกายของลูก และไม่เป็นการสร้างความคุ้นชินผิด ๆ ให้เด็กเข้าใจว่าการจับที่สงวนเป็นเรื่องปกติ ใครมาทำกับร่างกายเขาก็ได้

o   รายงานต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

o   ส่งเสริมให้ผู้กระทำผิดเข้ารับการบำบัด

3.          สำหรับผู้เห็นเหตุการณ์:

o   แทรกแซงหากปลอดภัย

o   รายงานต่อผู้ใหญ่ที่เชื่อถือได้ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

o   สนับสนุนเหยื่อ เช่น เข้าไปกอด ปลอบใจ อยู่ข้างๆ

 

หากตกเป็นเหยื่อควรทำอย่างไรสามารถแจ้งไปได้ที่

  • มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก 0-2412-1196 (ในเวลาราชการ) 

  •  ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

หากเกิดอะไรขึ้นเยียวยาจิตใจของผู้ถูกกระทำก่อน และคอยย้ำเตือนเสมอว่าผู้นั้นล้ำค่าที่สุดในสายตาพ่อแม่


สรุป

การล่อลวงเด็ก (Grooming)เป็นกระบวนการคือการกระทำที่ผู้กระทำผิดใช้เพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมสำหรับการล่วงละเมิดทางเพศซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยคนที่มีโรคใคร่เด็กเป็นภาวะของบุคคลที่มีแรงดึงดูดทางเพศต่อเด็ก ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทำผิดทางอาญา

ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับภาวะใคร่เด็กช่วยให้สังคมสามารถพัฒนาแนวทางการป้องกัน การรักษา และการดูแลเหยื่อที่ได้รับผลกระทบได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังอาจนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงและคำนึงถึงปัจจัยทางการแพทย์และจิตวิทยามากขึ้นในอนาคต

  

เปรียบข้อมูลในรูปแบบตาราง

Grooming (การล่อลวงเด็กเพื่อการล่วงละเมิดทางเพศ)

Pedophilia (โรคใคร่เด็ก)

คำนิยาม:

การกรูมมิ่งเป็นกระบวนการที่ผู้ใหญ่เกลี่ยกล่อมหรือล่อลวงเด็กจนเด็กเต็มใจคบเป็นแฟนหรือยอมมีปฏิสัมพันธ์ทางเพศ โดยเริ่มจากผู้ใหญ่ค่อยๆ สร้างความไว้วางใจและลดความระแวงของเด็กลง ทำให้เด็กรู้สึกสบายใจและยอมรับพฤติกรรมทางเพศของผู้ใหญ่ อาจจะมีกลลวงที่หลากหลายเพื่อให้เด็กคล้อยตามและโดยลืมศีลธรรมหรือมุมมองจากสังคมที่ป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ

เปโดอาจเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดการล่อลวงเด็ก

คำนิยาม:

โรคใคร่เด็กคือสภาวะที่ผู้ใหญ่มีความสนใจทางเพศต่อเด็กที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เป็นระยะเวลานาน

 ยังมีการจำแนกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง:

  • Hebephilia: ความดึงดูดทางเพศต่อเด็กอายุ 11-14 ปี ที่เริ่มแสดงสัญญาณของพัฒนาการทางเพศบางอย่าง แต่ยังไม่โตเต็มที่

  • Ephebophilia: ความดึงดูดทางเพศต่อวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี

หรือโรคใคร่เด็กอาจเรียกอีกอย่างนึงได้ว่าเป็น “ผู้ถูกดึงดูดโดยผู้เยาว์” (MAP) หรือ เป็นคนที่มี "ภาวะใคร่เด็ก" (Pedophilia) ซึ่งเป็นคำที่บางฝ่ายมองว่าไม่จำเป็นต้องสื่อถึงพฤติกรรมผิดกฎหมาย

ชอบเด็กเเต่อาจไม่ได้ทำอาชญากรรม

สาเหตุ: แม้ว่าจะไม่มีการระบุสาเหตุเฉพาะของพฤติกรรมล่อลวงเด็ก แต่มีปัจจัยที่ทำให้เด็กตกเป็นเป้าหมายได้ง่ายขึ้น ถูกเเบ่งเป็นสองมุมมองทั้งเด็กที่ถูกกระทำหรือผู้ใหญ่หรือผู้กระทำ

1. ทำไมเด็กตกเป็นเหยื่อ

ความไม่รู้

- ยังมีความรู้จำกัดเชื่อง่าย และไว้วางใจผู้อื่นง่าย

- ไม่รู้ว่าสิ่งที่อีกง่ายทำมันผิดธรรมชาติ

- เด็กมีแนวโน้มที่จะต่อต้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้น้อยกว่าผู้ใหญ่

-  ความรู้สึกขาดแคลนความรักจากคนในวัยเดียวกัน

-  ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมที่ชายเป็นใหญ่ รู้สึกไม่มีอำนาจ

ช่องโหว่จากความอบอุ่น

-   ความสัมพันธ์ที่ไม่แน่นแฟ้นกับพ่อแม่

-   การขาดการดูแลจากผู้ใหญ่

-   ความรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการหรือไม่ได้รับความรัก

-   ความเหงาและการถูกแยกจากสังคม

บางกรณี ผู้กระทำอาจเคยถูกกระทำรุนแรงในวัยเด็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านจิตใจและพฤติกรรมทางเพศ

เสียงเล็กมักเบาเสมอ - เด็กมักไม่กล้าที่จะเปิดเผยการล่อลวงหรือการล่วงละเมิดเพราะ

-   ความกลัว

-   ความอับอาย

-   การเข้าใจผิดว่าตนเองเป็นฝ่ายผิด 2. ทำไมผู้ใหญ่ถึงทำเช่นนี้ เกี่ยวกับทางจิตวิทยา -  ความรู้สึกขาดแคลนความรักจากคนในวัยเดียวกัน - ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมที่ชายเป็นใหญ่ รู้สึกไม่มีอำนาจ - บางกรณี ผู้กระทำอาจเคยถูกกระทำรุนแรงในวัยเด็ก ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านจิตใจและพฤติกรรมทางเพศ

ภาวะสุขภาพจิตอ่อนแอ

ความเครียดสูง

ความมั่นใจในตนเองต่ำ

 

สาเหตุ:

สาเหตุของคนใคร่เด็กมีความเเตกต่างกันของประเภทที่เกิดจากการพัฒนามาเองกับประเภทเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้:

1.      ภาวะรักเด็กแบบพัฒนาการ (Developmental pedophilia)

ภาวะรักเด็กแบบปฐมเหตุหรือพัฒนาการ (idiopathic หรือ developmental ) ถือเป็นภาวะทางจิตเวชประเภทหนึ่งในกลุ่มความผิดปกติทางความชอบทางเพศ (paraphilias) ใน DSM-5

ซึ่งยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดและไม่มีเหตุการณ์ปัจจัยภายนอกที่ทำให้เกิดภาวะนี้ ซึ่ง DSM-5 แยกความแตกต่างระหว่าง "ภาวะใคร่เด็ก" (Pedophilia) และ "โรคใคร่เด็ก" (Pedophilic Disorder) ซึ่งหมายความว่า

"ภาวะใคร่เด็ก" (Pedophilia)ที่มีแรงดึงดูดทางเพศต่อเด็กหรือ"บุคคลที่ถูกดึงดูดทางเพศต่อผู้เยาว์" (Minor-Attracted Person หรือ MAP) เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นโรคทางจิต ในขณะที่ "โรคใคร่เด็ก" (Pedophilic Disorder)  ต้องมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศเด็ก หรือมีความทุกข์ทรมานอย่างมีนัยสำคัญจากแรงดึงดูดนั้น เช่น ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตด้านสังคม การงาน การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคใคร่เด็ก


2.     ภาวะรักเด็กแบบเกิดขึ้นภายหลัง  (Acquired pedophilia) งานวิจัย "Acquired Pedophilia: International Delphi-Method-Based Consensus Guidelines" อธิบายว่า

ภาวะรักเด็กแบบเกิดขึ้นภายหลัง(acquired) ในบุคคลที่ไม่เคยมีความสนใจหรือความต้องการทางเพศต่อเด็กมาก่อน เป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่สามารถตรวจพบได้ ซึ่งทำให้แรงดึงดูดเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจมีการใช้ยาเพื่อควบคุมพฤติกรรมทางเพศในกลุ่มผู้กระทำผิดทางเพศ 

เช่น งานวิจัยบางส่วนเสนอว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้อาจตอบสนองต่อ การรักษาทางเภสัชวิทยา (Pharmaceutical Treatment) โดยเฉพาะ การใช้ยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (Chemical Castration หรือ Anti-Androgen Therapy) เพื่อช่วยลดแรงขับทางเพศและลดโอกาสในการกระทำผิด หรือผู้ป่วยมีภาวะสมองส่วนหน้าและขมับเสื่อม (frontotemporal dementia) การบาดเจ็บที่ศีรษะ ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เนื้องอกในสมองหรือไขสันหลัง

โรคฮันติงตัน ภาวะสมองส่วนฮิปโปแคมปัสแข็งตัว (hippocampal sclerosis) ภาวะสมองส่วนหน้าและขมับเสื่อมชนิดที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (multiple sclerosis)  และความไม่สมดุลทางชีวเคมี เช่น ที่เกี่ยวข้องกับยากลุ่มโดปามีนที่ใช้รักษาโรคพาร์กินสันซึ่งไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตเวชหลัก  นอกเหนือจากการอธิบายสาเหตุเเล้ว การแบ่งประเภทของคนใคร่เด็กมีผลต่อการพิจารณาความผิดทางกฎหมายเเละการรักษาทางการเเพทย์ เช่นกัน

ลักษณะพฤติกรรมและขั้นตอนการล่อล่วงเด็กมีดังนี้:

1.       การเลือกเหยื่อ: ระบุและมุ่งเป้าไปที่เด็กที่อ่อนแอ

-      เด็กที่เชื่อใจผู้อื่นง่าย

-      เด็กที่มีความมั่นใจในตนเองต่ำ

-      เด็กที่ถูกแยกออกจากสังคมหรือขาดการสนับสนุนทางอารมณ์

2.       การสร้างโอกาสและการแยกเด็กออกจากผู้อื่น: หาทางอยู่กับเด็กตามลำพัง เช่น ใช้การโน้มน้าวสมาชิกในครอบครัวของเด็ก ทำลายความสัมพันธ์ของเด็กกับพ่อแม่หรือผู้ปกครอง  ทำให้เด็กเชื่อว่าผู้กระทำผิดคือคนที่เข้าใจและดูแลพวกเขามากที่สุด

  1. การสร้างความไว้วางใจ: แสดงออกถึงความอ่อนโยน เอาใจใส่  ให้ความสนใจและคำชม ทำกิจกรรมร่วมกัน หรือให้รางวัลและสิทธิพิเศษ

  2. สร้างความผูกพัน: เริ่มจากการสัมผัสที่ดูเหมือนไม่มีพิษภัย ใช้ภาษาหรือมุขตลกลามก เพื่อให้เด็กไม่ต่อต้าน เปิดเผยร่างกายของตนเอง ถามเกี่ยวกับประสบการณ์ทางเพศของเด็ก และแสดงสื่อลามก อาจใช้ ของขวัญ การให้ความรัก หรือการให้รางวัล เป็นเครื่องมือ

  3. การควบคุม: ทำให้เด็กคิดว่า "ความสัมพันธ์นี้พิเศษ" เป็นเรื่องปกติจนไม่สนใจศีลธรรมและมุมมองจากสังคม  หรือ ใช้คำขู่ ทำให้เด็กกลัวผลที่ตามมาหากเปิดเผยเรื่องราว

ภาวะคนใคร่เด็กเป็นความชอบทางเพศ ไม่จำเป็นต้องเป็นพฤติกรรมเสมอไป สามารถมีความสนใจทางเพศต่อเด็กโดยไม่เคยกระทำการใด ๆ ตามความสนใจนั้น ดังนั้นอาจจะไม่มีลักษณะการล่อล่วงที่ชัดเจนคล้ายกับกรูมมิ่ง แต่มีวิธีการสังเกตพฤติกรรมของคนใคร่เด็ก

ลักษณะพฤติกรรมของผู้มีภาวะเปโดและประเภทของคนใคร่เด็ก ดังนี้ :

  • ในระยะแรกอาจไม่ยอมรับ รู้สึกวิตกกังวล และรู้สึกผิดเมื่อมีอาการใคร่เด็ก

  • ชอบคลุกคลีกับเด็กมากกว่าเข้าสังคมกับคนวัยเดียวกัน โดยอาจเข้าหาเด็กด้วยการพาไปเล่นและซื้อของให้เพื่อให้เด็กไว้ใจ

  • ชอบดูและมีอารมณ์ทางเพศเมื่อดูสื่อลามกอนาจารเด็ก

  • มีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยอาจใช้สายตา คำพูดแทะโลม สัมผัสร่างกาย เช่น หน้าอกและอวัยวะเพศ ไปจนถึงการข่มขืนกระทำชำเรา 

  • มีปัญหาความสัมพันธ์ในชีวิตคู่ ไม่มีความสุขขณะมีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองในวัยเดียวกัน

ความผิดทางกฎหมาย:

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการแก้ไขประมลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับ

การล่อลวงเด็ก (เพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ Grooming) โดยพึ่งผ่านครม. (ข้อมูลเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568)

 

โดยระบุในร่างมาตรา 6 ว่า

ผู้ใดกระทำการอันมีลักษณะเป็นการโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอันไม่สมควรอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อสนองความใคร่ของตนเองหรือผู้อื่น หรือเพื่อการอนาจาร

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เป็นความผิดในขั้นที่ยังไม่เกิดผล)

เเละหากเกิดผลเเล้ว

ต้องระวางโทษหนักขึ้น (จำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท) จาก สามปีเเละปรับหมื่นบาท

และยิ่งหากอายุเด็กต่ำกว่าสิบห้าปี โทษจะหนักขึ้นเป็น

(ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท) เเละหากทำผ่าน

·       อุปกรณ์โทรคมนาคม หรือระบบคอมพิวเตอร์ ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิด (เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสามของโทษที่กฎกำหนด)

 

และในร่างมาตรา 7 ระบุว่า

หากผู้ถูกกระทำได้

1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกสิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

*ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง

 ความผิดทางกฎหมายของเปโด ความผิดทางกฎหมายอาจต้องถูกพิจารณาจากความพฤติกรรมการล่อล่วงเด็กเเละพิจารณาโทษจากประเภทของคนใคร่เด็กเพราะมีอาการทางจิตเวชเกี่ยวข้องด้วย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดโทษและลงโทษโดยคำนึงถึงความผิดปกติทางจิต "โรคใคร่เด็ก" และอาจไม่เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยทางจิตเวช  ผู้ทำความผิดจึงมีความผิดและรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา แบ่งออกตามรูปแบบของการกระทำความผิดทางเพศกับเด็กตั้งแต่ไม่สัมผัสร่างกายไปจนถึงกระทำชำเราเด็ก

        1. ไม่มีการสัมผัสร่างกาย เช่น เปลือยกายให้เด็กดูอวัยวะเพศ แอบดูเด็กอาบน้ำ พูดจาลวนลาม ให้เด็กดูภาพ-คลิปลามกเพื่อเร่งเร้าหรือกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ

        2. สัมผัสร่างกายแต่ไม่ได้ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศ เช่น กอด จูบ ลูบคลำอวัยวะเพศเด็กด้วยมือหรือปากให้เด็กจับอวัยวะเพศเพื่อสำเร็จความใคร่

        3. ล่วงละเมิดทางเพศ กระทำชำเราแล้วจะบังคับ ข่มขู่เด็ก ให้เก็บเป็นความลับและกระทำชำเราซ้ำๆ หรือทำร้ายร่างกายหรือฆ่า

 ซึ่งเข้าข่ายกฎหมายอาญาทางเพศเกี่ยวกับเด็ก

บทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางเพศ

ความผิดที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็กในกฎหมายไทย ได้แก่:

  • การครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก 

 มาตรา 280/1

  • ถ้าทำตามมาตรา 276 มาตรา 277(กระทำชำเราเด็ก) มาตรา 278(ขู่อนาจารเด็ก) หรือมาตรา 279(อนาจารเด็ก) แล้วบันทึกภาพหรือเสียงการกระทำชำเราหรือการกระทำอนาจารนั้นไว้ เพื่อแสวงหาประโยชน์

โทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ หนึ่งในสาม

 มาตรา 287/1

  • ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก

โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ      

  • ตามวรรคหนึ่งส่งต่อแก่ผู้อื่น

โทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 287/2 (สำหรับสื่อลามกเด็ก)

  •  (1) เพื่อการค้า ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า  ส่งออก พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลาย  สื่อลามกอนาจารเด็ก

ซึ่งเอกสาร ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพหรือสิ่งอื่นใดอันลามก              

  • (2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องเกี่ยวกับวัตถุหรือสิ่งของลามก

  • (3) ช่วย โฆษณา

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 - 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 - 200,000 บาท

สามารถอ่านเพิ่มเติมในมาตรา 287 (ครอบครองสื่อลามก) ได้ที่ อ่านเพิ่มเติม

 

  • การกระทำอนาจารเด็ก

มาตรา 278

  • (1)กระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่า 15 ปี 

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  • (2)ตามวรรคหนึ่งโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ำอวัยวะเพศ

จำคุกตั้งแต่ 4 - 20 ปี และปรับ 80,000 - 400,000 บาท

  • ตามวรรคสอง ทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด

จำคุกตั้งแต่ 7 -20 ปี และปรับ 100,000 - 400,000 บาท

  • ตามวรรคสองมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิดหรือโดยใช้อาวุธจริงๆร่วมกระทำลักษณะโทรม

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

ยังมีในมาตรา 279 (สำหรับเด็กอายุยังไม่เกิน15ปี)และ มาตรา 280 (ทำให้บาดเจ็บสาหัสและถึงแก่มรณะ) สามารถอ่านต่อที่ อ่านเพิ่มเติม  

  •  การกระทำชำเราเด็ก

มาตรา 277

  • กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตน โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม 

จำคุกตั้งแต่ 15 - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 - 400,000 บาท

  • เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี

จำคุก 7- 20 ปี และปรับ 140,000-400,000 บาท หรือ จำคุกตลอดชีวิต

  • ตามวรรค 1 หรือ 2 ทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด

จำคุกตั้งแต่ 10 - 20 ปี และปรับ 200,000 - 400,000 บาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

  • ตามวรรค 1 หรือ 2 กระทำโดยมีอาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด

จำคุกตลอดชีวิต

ยังมีมาตรา 277 ทวิ และ มาตรา 277 ตรี (ทำให้เจ็บสาหัสหรือถึงแก่มรณะ) สามารถอ่านต่อที่ อ่านเพิ่มเติม 

บทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับความผิดทางเพศของเปโด บทลงโทษหากผู้เป็นโรคใคร่เด็กได้กระทำผิดตามกฎหมายอาญาที่เกี่ยวกับเด็กจะคล้ายกับความผิดการล่อลวงเด็ก (Grooming) เช่นพฤติกรรม

  • ครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก

  • กระทำอนาจารเด็ก

  • กระทำชำเราเด็กซึ่งจะได้รับบทลงโทษตามที่กฎหมายกำหนดโดยไม่คำนึกถึงอาการทางจิตเวช

อย่างไรก็ตาม ความผิดสามารถบรรเทาโทษได้

หากมีเหตุ ดังต่อไปนี้

        1. โฉดเขลาเบาปัญญาตกอยู่ในความทุกข์สาหัส

        2. มีคุณความดีมาก่อน

        3. รู้สึกผิดและพยายามบรรเทาผลร้ายในความผิด

        4. ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา

        5. สารภาพความผิดต่อเจ้าพนักงาน

แต่หากเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยโรคใคร่เด็กประเภทเกิดขึ้นภายหลัง (Acquired pedophilia) มีอาการจิตบกพร่อง เป็นผู้ป่วยจิตเวช หรือจิตฟั่นเฟือนจะยกเว้นโทษ/ ลดโทษ กรณีกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบชั่วดีหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ แต่หากพิสูจน์แล้วว่าผู้กระทำผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง : อาจรับโทษน้อยลง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล จะมีบทความลงโทษ

การรักษา เน้นเข้ารับการรักษาด้วยศีลธรรมเเละจริยธรรม

แม้จะไม่มีแนวทางการรักษาที่กำหนดไว้สำหรับพฤติกรรมล่อลวงเด็กโดยเฉพาะ รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักรู้จากสำนกักงานและมูลนิธิต่าง ๆ 

แนวทางการรักษา แนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะใคร่เด็ก:

  • การรักษาภาวะใคร่เด็กแบบปฐมเหตุ

    • มักไม่ตอบสนองต่อการบำบัดทางจิตใจได้ดี

    • การรักษาทางชีวเคมี เช่น การใช้ยาควบคุมฮอร์โมน อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

    • บางประเทศมีคลินิกเฉพาะทางเพื่อให้การบำบัดพฤติกรรม

  • การรักษาภาวะใคร่เด็กแบบเกิดขึ้นภายหลัง

    • สามารถรักษาได้โดยการแก้ไขสาเหตุทางระบบประสาท

    • การบำบัดฟื้นฟูสมองและการตระหนักรู้เกี่ยวกับศีลธรรมและกฎหมาย

 

 

 _____________________________________________________________

อ้างอิง

1.          Georgia, M. W., & Jeglic, E. L. (2022). The sexual grooming scale – victim version: The development and pilot testing of a measure to assess the nature and extent of child sexual grooming. Victims & Offenders, 17(6), 919–940. https://doi.org/10.1080/15564886.2021.1974994

2.           Jahnke, S., Blagden, N., & Hill, L. (2022). Pedophile, child lover, or minor-attracted person? Attitudes toward labels among people who are sexually attracted to children. Archives of Sexual Behavior, 51(8), 4125–4139. https://doi.org/10.1007/s10508-022-02331-6

3.          Jeglic, E. L., Winters, G. M., & Johnson, B. N. (2023). Identification of red flag child sexual grooming behaviors. Child Abuse & Neglect, 136, 105998. https://doi.org/10.1016/j.chiabu.2022.105998

4.          Kaviani Johnson, A. (2024). Grooming and child sexual abuse in organizational settings—An expanded role for international human rights law. Journal of Human Rights Practice, 16(1), 355–373. https://doi.org/10.1093/jhuman/huad039

5.          Scarpazza, C., Costa, C., Battaglia, U., et al. (2023). Acquired pedophilia: International Delphi-method-based consensus guidelines. Translational Psychiatry, 13, 11. https://doi.org/10.1038/s41398-023-02314-8

6.          Stone, T. H., Winslade, W. J., & Klugman, C. M. (2000). Sex offenders, sentencing laws and pharmaceutical treatment: A prescription for failure. Behavioral Sciences & the Law, 18, 83–110.

7.          Winters, G. M., Jeglic, E. L., & Kaylor, L. E. (2020). Validation of the sexual grooming model of child sexual abusers. Journal of Child Sexual Abuse, 29(7), 855–875. https://doi.org/10.1080/10538712.2020.1801935

8.          Winters, G. M., & Jeglic, E. L. (2021). The Sexual Grooming Scale – Victim Version: The Development and Pilot Testing of a Measure to Assess the Nature and Extent of Child Sexual Grooming. Victims & Offenders, 17 (6), 919–940. https://doi.org/10.1080/15564886.2021.1974994

9.          Winters, G. M., Kaylor, L. E., & Jeglic, E. L. (2021). Toward a universal definition of child sexual grooming. Deviant Behavior, 43(8), 1–13. https://doi.org/10.1080/01639625.2021.1941427

10.     Ybarra, M. L., Mitchell, K., Finkelhor, D., & Wolak, J. (2007). Internet prevention messages: Are we targeting the right online behaviors? Archives of Pediatric and Adolescent Medicine, 161, 138–145. https://doi.org/10.1001/archpedi.161.2.138

11.     Medi.co.th.. (2022). โรคใคร่เด็ก Pedophilia อาการจิตป่วยอันตราย สังเกตให้ไวก่อนลูกหลานตกเป็นเหยื่อ. สืบค้นวันที่ 24 มีนาคม 2025, from http://www.medi.co.th/news_detail2.php?q_id=207 

12.     Thai PBS. (2025). เตือนภัย "เด็ก" สถิติ 1 ปี ถูกล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ 346 คดี. สืบค้นวันที่ 24 มีนาคม 2025, from https://www.thaipbs.or.th/news/content/348051

13.     POBPAD. (n.d.). Pedophilia รู้จักอาการของโรคใคร่เด็ก และการรักษา. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2568, จาก pobpad

14.     Thairath. (2025, March 12). รู้จัก เปโด (Pedophilia) โรคใคร่เด็ก ภาวะทางจิตที่อาจก่อให้เกิดอาชญากรรม. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2568, จาก https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2846776

15.     สำนักงานกิจการยุติธรรม. (2024, 18 มีนาคม). ใคร่เด็ก กับโทษทางกฎหมาย: โรคใคร่เด็ก (Pedophilia) หรืออาการผิดปกติทางจิตที่แสดงออก. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2568, จาก สำนักงานกิจการยุติธรรม

 

 

 

Comments


bottom of page