top of page
Safeguardkids_Brand-Update_page-0012.jpg

ผ่านเเล้ว! ร่างแก้ไขกม.อาญาความรุนเเรงในครอบครัวเเละคุกคามทางเพศเด็ก เพิ่มโทษกระทำผ่านสื่อออนไลน์

อัปเดตเมื่อ 26 มี.ค.




บทความฉบับสรุป

เรื่องที่ 1 แก้ไขพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว  

ปรับปรุงกฎหมายเดิม (พ.ศ. 2550) โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้:

เรื่องที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ ความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดต่อเสรีภาพ

เพิ่มฐานความผิดใหม่ 5 ประเภท เพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการตกเป็นเหยื่อผ่านสื่อออนไลน์:

1.          แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม 

·      ขยายนิยาม "ความรุนแรงในครอบครัว" ให้ครอบคลุมการล่วงเกินหรือคุกคามทางเพศและความเสียหายต่อชื่อเสียง

·      เพิ่มคำนิยาม "บุคคลในครอบครัว" ให้รวมถึงบุคคลที่มีความผูกพันลึกซึ้งทางจิตใจโดยไม่จำกัดเพศ

1.          การล่อลวงเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ (Grooming) 

โทษ: จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

b.          หากโน้มน้าวจนกระทำอนาจารสำเร็จ: จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 100,000 บาท

c.          หากกระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี: จำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 140,000 บาท

d.          กรณีกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์: เพิ่มโทษอีก 1/3

2.          แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ 

·      เพิ่มอำนาจให้พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถช่วยเหลือผู้ถูกกระทำความรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.          การพูดคุยเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสม (Sexting) 

a.          โทษ: จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท

b.          หากกระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี: จำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท

c.          กรณีกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์: เพิ่มโทษอีก 1/3

3.          แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และการดำเนินการ 

·      ขยายระยะเวลาการแจ้งความจาก 3 เดือน เป็น 6 เดือน

·      ปรับปรุงกระบวนการจัดการแผนแก้ไขและป้องกัน

3.          การแบล็กเมล์ทางเพศ (Sextortion) 

a.          โทษ: จำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท

4.     แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ 

·      เพิ่มโทษปรับการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าหน้าที่จาก 3,000 บาท เป็น 30,000 บาท

·      กำหนดโทษหนักขึ้นกรณีกระทำความผิดซ้ำภายใน 3 ปี หรือกระทำต่อเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี

4.          การติดตามคุกคาม (Stalking) 

a.          โทษ: จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

b.          กรณีกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

5.     การกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber Bullying) 

a.          โทษ: จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

การแก้ไขกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและการวิเคราะห์ผลกระทบตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว และได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง _________________________________________________________

บทความฉบับเต็ม

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา เพื่อกำหนดการกระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์...


สืบเนื่องจากกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีด้านการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ในสื่อออนไลน์ซึ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยังไม่สามารถดำเนินการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนจากการตกเป็นเหยื่อของการกระทำความผิดต่อเด็กและเยาวชนผ่านทางสื่อออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการกระทำความผิด โดยเฉพาะการกระทำความผิดต่อเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มที่สามารถถูกล่อลวงและตกเป็นเหยื่อของผู้กระทำความผิดได้โดยง่าย อีกทั้งการกระทำความผิดโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลยังกระทำได้อย่างไร้พรมแดนและยากที่จะควบคุม

 

สำหรับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว

เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงมากขึ้น

โดยปรับนิยามให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นนอกจากจะหมายถึงการทำร้ายร่างกาย จิตใจ สุขภาพแล้ว ยังรวมถึงการล่วงเกินหรือคุกคามทางเพศและการกระทำที่มุ่งประสงค์ให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ หรือทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงด้วย และเพิ่มการลงโทษได้เพิ่มอัตราโทษปรับในความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัว

 

ประเด็นสำคัญ

1.         แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยาม

a.         แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามความหมายของ “ความรุนแรงในครอบครัว” เพิ่มเรื่อง การล่วงเกินหรือคุกคามทางเพศ และ ความเสียหายต่อชื่อเสียง (เดิม บัญญัติไว้เพียงอันตรายที่เกิดแก่ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพเท่านั้น)

b.         เพิ่มคำนิยามในความหมายของ “บุคคลในครอบครัว”  “ที่แสดงออกต่อบุคคลทั่วไปหรือที่มีความผูกพันลึกซึ้งทางจิตใจต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศ” (เดิม กำหนดไว้เพียง คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้ง บุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน ซึ่งไม่ได้ลงรายละเอียดไว้)

2.         แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้า สามารถให้ความช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่พบเห็นหรือได้รับแจ้งเหตุการกระทำรุนแรงในครอบครัว ให้มีหน้าที่และอำนาจต่างๆอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/374156

3.         แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และการดำเนินการ

(1)     ถ้ามิได้มีการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 5 หรือมิได้มีการร้องทุกข์ตามมาตรา 6 ภายใน 6 เดือน (จาก 3 เดือน) ถือว่าคดีขาด

(2)     ให้พนักงานสอบสวนในท้องที่หรือที่มูลเหตุเกิดขึ้น พนักงานอัยการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่

(3)     ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรี มีอำนาจออกคำสั่งใด ๆ (จากเดิมทำได้เท่าที่จำเป็นและสมควรเท่านั้น)

(4)     เมื่อมีคำสั่งให้มีผลใช้บังคับไม่เกิน 7 วันนับแต่วันที่ผู้กระทำได้รับคำสั่งเพื่อจัดทำแผนแก้ไขและป้องกัน ให้เสนอมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ต่อศาล (จากเดิมให้เสนอต่อศาลภายใน 48 ชั่วโมงนับแต่วันออกคำสั่งก่อน)

(5)     เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะมีการกระทำความผิดซ้ำ ผู้ที่จะถูกกระทำหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางให้มีคำสั่งห้ามไม่ให้ทำได้ (เดิมไม่มีระบุ)

4.         แก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษ

(1)     ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 10 วรรคหนึ่ง (มาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เดิม ปรับไม่เกิน 3,000 บาท)

(2)     ถ้าเป็นการกระทำความผิดซ้ำภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ได้กระทำความผิดครั้งก่อน หรือทำต่อเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ศาลลงโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ไม่เกินกึ่งหนึ่ง (เดิม ไม่ได้กำหนดมาตรการดังกล่าวไว้ ซึ่งหากมีการกระทำความผิดซ้ำจะมีโทษเท่ากับกระทำครั้งแรก)


 

 

แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดต่อเสรีภาพ


สาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีการแก้ไขเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดต่อเสรีภาพ โดยเพิ่มเติมฐานความผิดในประมวลอาญาไว้ 5 ประเภทดังนี้

สาระสำคัญความผิดเกี่ยวกับเพศ และความผิดต่อเสรีภาพ

สรุปโทษ

รูปแบบเต็ม

1.การล่อลวงเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ (Grooming)

(ในลักษณะ Offline และ Online Grooming) ซึ่งมีลักษณะเป็นการโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง หรือกระทำการไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชนให้กระทำการหรือยอมรับการกระทำอันไม่สมควร

 

จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับ 60,000 บาท หรือทั้งจำปรับ

โน้มน้าวจนกระทำอนาจารสำเร็จ โทษหนักขึ้นเป็น จำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

แล้วทำต่อเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี โทษจะหนักอีกเป็น

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท

 ซึ่งหากเป็นการกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์

ก็จะเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำผิดขึ้นอีกหนึ่งใน 3 ของที่กฎหมายกำหนด

(ร่างมาตรา 6) > กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ใดกระทำการอันมีลักษณะเป็นการโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันมีลักษณะที่ไม่เหมาะสมกับบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้กระทำการ หรือยอมรับการกระทำอันไม่สมควรอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อสนองความใคร่ของตนเองหรือผู้อื่น หรือเพื่อการอนาจาร

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เป็นความผิดในขั้นที่ยังไม่เกิดผล) การล่อลวงเข้าหาเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ (Online Grooming)

  • หากการโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดนั้น ก่อให้เกิดผลแล้ว ได้กระทำความผิดสำเร็จโดยทำให้ผู้ที่ถูกโน้มน้าว จูงใจ ล่อลวง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นถูกทำการอนาจาร หรือถูกนำไปสนองความใคร่ของบุคคลใดแล้ว

ต้องระวางโทษหนักขึ้น (จำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท) จาก สามปีเเละปรับหมื่นบาท

  • การกระทำดังกล่าวข้างต้นหากได้กระทำต่อเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นอีก 

(ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีและปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท)

  •  หากเป็นการกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคม หรือระบบคอมพิวเตอร์ ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิด (เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสามของโทษที่กฎกำหนด)

 

 

(ร่างมาตรา 7) กำหนดเพิ่มเติมให้การกระทำความผิดอันมีลักษณะเป็นการโน้มน้าวจูงใจ ล่อลวง หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่ไม่เหมาะสมกับเด็กและเยาวชน เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อสนองความใคร่ของบุคคล (ตามร่างมาตรา 6) ทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จะต้องได้รับโทษหนักขึ้น (เพิ่มเหตุฉกรรจ์)

กรณี

1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบปีและปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสองแสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต

2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกสิบห้าปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต)

2. การพูดคุยเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสม (Sexting)

(ในลักษณะ Offline และ Online Unwanted Sexting) ซึ่งมีลักษณะเป็นการส่งหรือส่งต่อซึ่งเรื่องทางเพศที่ไม่เหมาะสมแก่เด็กและเยาวชน ไม่ว่าด้วยกาย วาจา ลายลักษณ์อักษร ภาพ เสียง หรือวิธีการอื่น

จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท แต่ว่าหากกระทำแก่เด็กอายุไม่ถึง 15 ก็ต้องระวังโทษหนักขึ้น จำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท 

แต่หากเป็นการกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์ ก็จะเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำผิดขึ้นอีกหนึ่งในสามของที่กฎหมายกำหนด

(ร่างมาตรา 8) 

กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ใดส่ง หรือส่งต่อซึ่งเรื่องทางเพศที่ไม่เหมาะสม เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ให้แก่เด็กอายุเกินสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปี หรือบุคคลซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์อายุเช่นว่านั้น ไม่ว่าด้วยการแสดงออกทางกาย วาจา ลายลักษณ์อักษร ภาพ เสียง หรือด้วยวิธีการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

·      หากเป็นการกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี หรือบุคคลซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นบุคคลที่อยู่ในเกณฑ์อายุเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษหนักขึ้น (จำคุกไม่เกินสามปีและปรับไม่เกินหกหมื่นบาท)

·      หากเป็นการกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคม หรือระบบคอมพิวเตอร์ ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ (เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสามของโทษที่กฎหมายกำหนด)

3. การแบล๊กเมล์ทางเพศ  (Sextortion) การขู่ว่าจะเผยแพร่หรือส่งต่อข้อความ ภาพ หรือเสียงที่บันทึกเพื่อการอนาจารหรือแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ เช่น การแอบถ่าย และบังคับให้ผู้ถูกข่มขู่กระทำการหรือยอมรับการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ

 

ระวังโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท

(ร่างมาตรา10)

 กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ใดข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ หรือส่งต่อซึ่งข้อความ ภาพ หรือเสียงที่บันทึก เพื่อการอนาจาร หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เหมาะสมทางเพศของผู้ถูกข่มขู่ หรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ถูกข่มขู่ หรือกระทำการด้วยประการอื่นใด อันอาจทำให้ผู้ถูกข่มขู่ สมาชิกใน ครอบครัวของผู้ถูกข่มขู่อับอาย หรือเสียชื่อเสียงเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ โดยบังคับให้ผู้ถูกข่มขู่จำยอมต้องกระทำการหรือยอมรับการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นการไม่สมควรทางเพศ

 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

4. การติดตามคุกคาม Stalking 

(ในลักษณะ Offline และ Online Stalking)

ซึ่งมีลักษณะเป็นการเฝ้าดูหรือติดตามอย่างใกล้ชิด หรือการติดต่อหรือพยายามติดต่อไม่ว่าด้วยทางตรงหรือทางอ้อม

ซึ่งกระทำซ้ำหลายครั้งต่อบุคคลใด จนเกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินสมควร และไม่มีเหตุอันสมควร

 ต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

แต่หากเป็นการกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์ ก็จะเพิ่มโทษแก่ผู้กระทำผิดขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือว่าทั้งจำทั้งปรับ

(ร่างมาตรา 15) กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ใดกระทำความผิดในลักษณะ (การติดตามคุกคาม) เฝ้าดูหรือติดตามอย่างใกล้ชิด หรือการติดต่อหรือพยายามติดต่อไม่ว่าด้วยทางตรงหรือทางอ้อม หรือการกระทำอื่นใดอันมีลักษณะเดียวกันต่อบุคคลใด อันเป็นผลทำให้ผู้ถูกกระทำเกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินสมควร รบกวนความเป็นอยู่ส่วนตัว หรือทำให้ผู้ถูกกระทำไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ หรือเกิดความหวาดกลัวต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ถูกกระทำหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ถูกกระทำ

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นการกระทำผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคม หรือระบบคอมพิวเตอร์ต้องระวางโทษหนักขึ้น 

(จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

5. การกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber Bullying)

มีลักษณะเป็นการกลั่นแกล้ง รังแก ระราน ข่มเหง หรือการกระทำอื่นใดซ้ำ ๆ ต่อผู้อื่น ผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคม/ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำให้ได้รับความอับอาย หรือผลกระทบทางกายกระทบทางจิตใจ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง

จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำปรับ...

(ร่างมาตรา 17) กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ใดกระทำความผิดในลักษณะการกลั่นแกล้ง รังแกทางออนไลน์ (Cyber Bullying) (กลั่นแกล้ง รังแก ระราน ข่มเหง หรือการกระทำลักษณะเดียวกันต่อผู้อื่น ผ่านอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือระบบคอมพิวเตอร์) โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้ถูกกระทำได้รับความอับอาย หรือได้รับผลกระทบอย่างหนึ่งอย่างใดทางร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด

 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

และแก้ไขเพิ่มเติมมาตราอื่น ๆ

มาตรา

ชื่อมาตรา

โทษ

(ร่างมาตรา 5)

กำหนดให้การกระทำความผิดกระทำชำเรา กระทำอนาจารหรือการกระทำที่เป็นการเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งเป็นการบันทึก ข้อความ(ใหม่) ภาพ หรือ เสียง ดังกล่าวไว้ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่กำหนดไว้

เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น กระทำชำเราเด็ก กระทำอนาจารเด็ก การล่อลวงเข้าหาเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ การพูดคุยหรือสื่อสารเรื่องทางเพศที่ไม่เหมาะสม)

และหากมีการเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อความ(ใหม่) ภาพ หรือเสียง การกระทำชำเรา การกระทำอนาจาร หรือการกระทำนั้นที่บันทึกไว้ ต้องระวางโทษหนักกว่าที่กำหนดไว้ (เพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่น กระทำชำเราเด็ก กระทำอนาจารเด็ก การล่อลวงเข้าหาเด็กเพื่อวัตถุประสงค์ทางเพศ การพูดคุยหรือสื่อสารเรื่องทางเพศที่ไม่เหมาะสม)

(ร่างมาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 287/3 และ 287/2 )

(ร่างมาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 287/3) กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ใดครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางเพศสำหรับตนเองหรือผู้อื่น หรือส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่นหากเป็นการกระทำโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือผ่านช่องทางโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม

 

(ร่างมาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 287/2) กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ใด

      (1) ทำ ผลิต มีไว้ นำเข้าหรือยังให้นำเข้าในราชอาณาจักร ส่งออกหรือยังให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พาไปหรือยังให้พาไปหรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ๆ ซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็ก เพื่อความประสงค์แห่งการค้า หรือโดยการค้า เพื่อการแจกจ่ายหรือเพื่อการแสดงอวดแก่ประชาชน

     (2) ประกอบการค้า หรือมีส่วนหรือเข้าเกี่ยวข้องในการค้าเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก จ่ายแจกหรือแสดงอวดแก่ประชาชนหรือให้เช่าสื่อลามกอนาจารเด็ก

    (3) ช่วยเผยแพร่ หรือค้าสื่อลามกอนาจารเด็ก หรือโดยวิธีใด

หากเป็นการกระทำโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ตามกฎหมายด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือผ่านช่องทางโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วย องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม

(ร่างมาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 287/3)

 ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่กำหนดไว้

(เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำความผิดฐานครอบครองสื่อลามกอนาจารเด็ก หรือส่งต่อซึ่งสื่อลามกอนาจารเด็กแก่ผู้อื่น)

 

(ร่างมาตรา 14 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 287/2)

ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่กำหนดไว้

 (เพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำความผิดฐานทำ ผลิต มีไว้ นำเข้า ส่งออก เผยแพร่ ซึ่งสื่ออนาจารเด็กเพื่อการค้า)

(ร่างมาตรา 18)

 หากกระทำผ่านเทคโนโลยี อุปกรณ์โทรคมนาคม หรือระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีไว้เพื่อการบริการสาธารณะ หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์

ต้องระวางโทษหนักขึ้น (เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งในสาม)

 

กระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงานกิจการยุติธรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย และเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์ การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ


สีสิทธิเด็กที่เกี่ยวข้อง:

#สีเบจ- เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับการปกป้องจากการแสวงหาผลประโยชน์และการถูกคุกคามทางเพศทุกรูปแบบ

#สีแดง- เด็กที่เป็นเหยื่อของการถูกละเลย ทอดทิ้งหาผลประโยชน์ หรือถูกคุกคามทางเพศมีสิทธิที่จะได้รับการฟื้นฟูและ กลับเข้าสู่สังคมปกติ

#สีเหลือง- เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการปกป้องจากความรุนแรง และการถูกทำร้ายทุกรูปแบบ

#สีฟ้า-ในการกระทำใดๆที่เกี่ยวข้องกับเด็กผลประโยชน์ของเด็กจะต้องถือเป็นความสำคัญลำดับหนึ่ง


 

อ้างอิง

1. พรรคเพื่อไทย. (2025, 18 มีนาคม). ครม.มีมติแก้ ป.อาญา ‘กระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์’ เพิ่ม 5 ฐานความผิด ป้องกันเด็กตกเป็นเหยื่ออาชญากร. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2568, จาก Facebook Page พรรคเพื่อไทย

2. กรมประชาสัมพันธ์. (2025, 19 มีนาคม). ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว และร่าง พ.ร.บ.กระทำความผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2568, จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/374156

3. มติชน. (2025, 18 มีนาคม). ครม.ไฟเขียวแก้ กม.กระทำผิดต่อเด็กในสื่อออนไลน์ เพิ่มโทษคดีทางเพศแรงขึ้น. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2568, จาก https://www.matichon.co.th/politics/news_5097556

Comments


bottom of page